การเติบโตของธุรกิจคลังสินค้าในไทย จะเป็นอย่างไร
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่กับเรามาเป็นเวลานาน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านการใช้ชีวิตของคนทั่วไป รวมถึงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่โดนบีบคั้นให้ต้องเปลี่ยนของสังคมโลก นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการค้าและการบริโภค ภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง รวมถึงภาคการผลิตและการส่งออกด้วย
อย่างไรก็ตาม ก็จะมีทั้งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเชิงบวก และเชิงลบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในด้านของธุรกิจคลังสินค้านั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เติบโตเพิ่มสูงขึ้น เนื่องมาจากปัจจัยหลักคือการเติบโตของธุรกิจ e-Commerce และธุรกิจขนส่งสินค้า อาหาร ซึ่งตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด
ธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าในประเทศไทย
ในภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์นั้น “คลังสินค้า” มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต การค้า ไปจนถึงการขนส่งให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน และลูกค้า
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้จำแนกคลังสินค้าให้เช่า ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
✅ คลังสินค้าทั่วไป
ใช้จัดเก็บสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป วัตถุดิบ และอะไหล่ต่าง ๆ
✅ คลังสินค้าแช่เย็น/ แช่แข็ง
ต้องควบคุมอุณหภูมิ เพื่อใช้ในการเก็บรักษาและยืดอายุสินค้าทางการเกษตร การประมง หรือสินค้าที่อาจเกิดการเน่าเสียได้ง่าย
✅ คลังสินค้าธัญพืช (ไซโล)
ต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เพื่อใช้ในการเก็บรักษาสินค้าที่เป็นธัญพืชต่าง ๆ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง แป้ง ข้าวโพด
โดยสถานการณ์ที่ผ่านมาในช่วงโควิด 19 ปี 2563 – 2564 ของคลังสินค้าประเภทต่าง ๆ นั้น เกิดการฟื้นตัวกลับมาในช่วงปลายปี 2563 ทำให้ผู้ประกอบการได้ขยายการลงทุนพื้นที่คลังสินค้ากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น
▶️ คลังสินค้าทั่วไป
การเติบโตของธุรกิจ e-Commerce ปี 2563 นั้น ทำให้เกิดความต้องการเช่าพื้นที่คลังสินค้ามากขึ้น เนื่องจากการเติบโตของกลุ่มลูกค้า B2C ที่มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงโควิด 19 มีการซื้อขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์มากขึ้น
▶️ คลังสินค้าแช่เย็น/ แช่แข็ง
การปิดเมืองในช่วงการระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบเชิงลบต่อภาคการส่งออกของไทย ทำให้ความต้องการใช้บริการห้องเย็นลดลง แต่ในสินค้าทางการเกษตร ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในสินค้าประเภทประมงนั้น ยังมีผลประกอบการที่ไม่ดีนัก เนื่องจากมีการส่งแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ อย่างไรก็ตาม ก็มีการเติบโตที่ดีขึ้นในปี 2564 ที่ผ่านมา
▶️ คลังสินค้าธัญพืช (ไซโล)
คลังสินค้าประเภทนี้ เริ่มฟื้นตัวในช่วงปี 2563 เนื่องจากมีผลผลิตธัญพืชเพิ่มมากขึ้น โดยมีปัจจัยจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่ทำให้ธัญพืชเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด จึงทำให้ความต้องการใช้พื้นที่คลังสินค้าธัญพืช (ไซโล) มากขึ้นตามไปด้วย
กล่าวได้ว่า ภาพรวมของธุรกิจคลังสินค้าที่ผ่านมานั้น มีการเติบโตมากขึ้น 3.3% โดยมีปัจจัยหลักจากการเติบโตของภาคการส่งออก และการผลิต ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหารแปรรูป เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ รวมถึงการเติบโตของ e-Commerce ที่เพิ่มมากขึ้นในระดับ 25 – 30% เลยทีเดียว
ธุรกิจคลังสินค้าในประเทศไทย มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
เนื่องด้วยเศรษฐกิจกำลังจะฟื้นตัว
IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต ในช่วง 3.0 – 4.0% ต่อปี ขณะที่วิจัยกรุงศรีคาดเศรษฐกิจไทยจะเติบโตในระดับ 3.5 – 4.0% ในด้านของ e-Commerce นั้น ก็ยังคงเติบโตต่อเนื่องถึง 20 – 25% ต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความต้องการเช่าคลังสินค้า เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น
ธุรกิจคลังสินค้าควรต้องปรับตัวอย่างไร หากเจอกับวิกฤตอีกครั้ง
ถึงแม้จะผ่านมาแล้วมากกว่า 2 ปี แต่เชื้อไวรัสโควิด 19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่เรื่อย ๆ การพบกับปัญหาในช่วงที่ผ่านมานั้น ทำให้หลายธุรกิจต้องเรียนรู้ และปรับตัว เพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้
ธุรกิจคลังสินค้า ถึงแม้จะมีการเติบโตในช่วงวิกฤต แต่อย่างไรก็ตาม ควรมีการเตรียมความพร้อมและมีวิธีในการรับมือกับวิกฤตต่าง ๆ เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูง แม้ต้องพบกับวิกฤตในรูปแบบใดก็ตาม โดยสามารถใช้วิธีจัดการสินค้าคงคลัง และการบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บได้เช่นกัน
▶️ ด้านการจัดการสินค้าคงคลัง
- รักษาระดับปริมาณสินค้าคงคลัง สำหรับสินค้าประเภท Fast – Moving ให้มีเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ
- เพิ่มปริมาณ Safety Stock เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของความต้องการผู้บริโภค และระยะเวลาในการนำส่ง (Lead Time)
- ยกระดับจุดสั่งซื้อซ้ำ (Reorder Point) ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
- กำหนดมาตรการในการควบคุมระยะเวลาการนำส่งให้สั้นที่สุด
- จำกัดปริมาณการซื้อสินค้าของลูกค้า สำหรับสินค้าที่มีความต้องการมาก แต่มีจำนวนจำกัด
▶️ ด้านการบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing and storage)
- เน้นจัดเก็บสินค้าแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) เพื่อให้มีสินค้ารองรับกับความต้องการของลูกค้าอย่างทั่วถึง
- เพิ่มพื้นที่รองรับการจัดเก็บสินค้าที่มีความต้องการซื้อสูงเป็นพิเศษ
- จัดวางสินค้าที่เป็น Fast – Moving ให้ใกล้กับทางออก เพื่อความสะดวกในการหยิบสินค้า และเตรียมปล่อยสินค้าออก
- แยกการจัดเก็บสินค้าที่มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย
- นำระบบเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้พนักงานคลังสินค้าทำงานได้ง่ายขึ้นมาใช้กับการบริหารจัดการคลังสินค้า เพื่อลดความผิดพลาด และทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น เช่น Warehouse Management System หรือ WMS
สรุปได้ว่า ธุรกิจคลังสินค้าในปีที่ผ่านมา สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ท่ามกลางวิกฤต และมีแนวโน้มการเติบโตมากขึ้นอีกในอนาคต ปัจจัยหลักเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ที่มีการทำธุรกรรมออนไลน์ ซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เติบโตอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
ธุรกิจคลังสินค้าของคุณ พร้อมเติบโตหรือยัง?
อยากเป็น Modern Warehouse นึกถึง MOLOG WMS
สนใจ ติดต่อทีมงานเพื่อนำเสนอระบบ และแพ็คเกจที่เหมาะกับคุณ
เพียงกรอกแบบฟอร์มเพื่อขอดูตัวอย่างระบบ ฟรี‼️
ที่: https://bit.ly/Register_free_demo
ขอบคุณข้อมูลจาก: