ระบบ WMS คืออะไร ทำไมธุรกิจที่มีคลังสินค้า “ต้องมี”

ระบบ WMS คืออะไร
ทำไมธุรกิจที่มีคลังสินค้า “ต้องมี”

ในยุคปัจจุบันที่เรารายล้อมไปด้วยอุปกรณ์ดิจิตอลไม่ว่าจะเป็น มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ และ internet ความเร็วสูง
ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมากมายด้วยสิ่งที่เรียกว่า”โปรแกรม”


ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือโปรแกรมบริหารคลังสินค้า หรือ Warehouse Management System หรือเรียกสั้นๆกันอย่างติดปากว่า
ระบบ WMS

ซึ่งเป็นระบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการบริหารระบบคลังสินค้า
ที่รับสินค้า เก็บสินค้า และกระจายสินค้า
ช่วยให้กระบวนการทำงานในคลังสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ความถูกต้อง การค้นหา ตรวจสอบข้อมูลสินค้าในระบบจัดการคลังสินค้าได้ถูกต้อง แม่นยำ
ตามเงื่อนไขการทำงานของธุรกิจแต่ละบริษัทจึงช่วยลดปัญหาสินค้าสูญหาย ปัญหาการหาสินค้าไม่พบ

โดยหลักการระบบโปรแกรมจะประกอบด้วย 3 ระบบหลัก คือ
การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บสินค้า (Storage) การส่งมอบสินค้า (Delivery)

การรับสินค้า (Receiving)
เป็นกระบวนการแรกที่เกิดขึ้นในระบบคลังสินค้า
เมื่อสินค้าถูกนำส่งมาจัดเก็บที่ระบบคลังสินค้า
เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกรายละเอียดของสินค้าแต่ละชิ้นเพื่อทำการแยกประเภท กลุ่มของสินค้า ซึ่งในส่วนนี้สามารถทำได้โดยการใช้คนทำแบบ Manual คีย์ข้อมูลเข้าระบบ
หรือ จะใช้การ Interface ข้อมูลเพื่อใช้เป็นค่าตั้งต้นได้
ซึ่งข้อมูลตั้งต้นนี้จะถูกนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการทำฐานข้อมูลบัญชีหรืออื่น ๆ โดยเริ่มจากกระบวนการ

การจัดเก็บสินค้า (Storage)
ระบบ WMS จะทำการคำนวณเพื่อค้นหาตำแหน่งจัดเก็บที่เหมาะสม แล้วนำไปจัดเก็บตามตำแหน่ง ที่ได้ทำการจัดเตรียมไว้
โดยจะเก็บสินค้าให้พอดีเพื่อให้การใช้แต่ละพื้นที่ภายในคลังเกิดประโยชน์สูงสุด

การส่งออกสินค้า (Delivery)
การส่งออกสินค้าหรือการกระจายสินค้าด้วยระบบ WMS เป็นกระบวนการในการจัดเตรียมสินค้า เพื่อทำการส่งสินค้า โดยข้อมูลสินค้า
และตำแหน่งสินค้าจะถูกแจ้งมาทางระบบ ผู้ทำการเตรียมสินค้า เพียงกระทำการหยิบสินค้าตามที่ระบบแนะนำ ป้องกันการจัดส่งที่ผิดพลาดได้ดี

แล้วระบบ WMS ดีอย่างไร

เพิ่มความถูกต้องในการจัดเก็บสินค้า
เพิ่มความถูกต้องในการจ่ายสินค้าให้ลูกค้า
สามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว
สามารถดูจำนวนสินค้าคงปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง และทันที
ลดปัญหาสินค้าค้างสต็อก
คำนวณการจัดการพื้นที่ใช้สอยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จริง ๆ แล้วระบบคลังสินค้าทุกคลังไม่จำเป็นต้องใช้ WMS ก็ได้ แต่หากคลังสินค้าใดที่นำ WMS มาใช้
จะได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์
อย่างเช่น การลดจำนวนของสินค้าคงคลัง การลดปริมาณการใช้คนงาน
การเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่การจัดเก็บอย่างเต็มที เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า
การเพิ่มความถูกต้องให้กับระบบคลังสินค้า และสุดท้ายคือช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้จาก Human Error

แล้วระบบบริหารคลังสินค้า (WMS) ช่วยแก้ปัญหาหาสินค้าได้อย่างไร

  1. กระบวนการรับสินค้า (Receiving) :
    ระบบ WMS สามารถ Reserve พื้นที่ หรือจองพื้นที่ให้ล่วงหน้าเพื่อช่วยในการวางแผนการใช้พื้นที่ในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะคลังสินค้าบางที่ไม่มีระบบที่ดี เมื่อรับสินค้าเข้าคลังก็เอาไปตามใจชอบ สุดท้ายก็จำไม่ได้ว่านำไปเก็บไว้ที่ไหน
  2. กระบวนการจัดเก็บ (Put Away) :
    ระบบ WMS สามารถ แนะนำตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัดเก็บ และมีการยืนยันตำแหน่งการจัดเก็บที่ถูกต้อง
    Manual : โดยผู้ตรวจเซ็นอนุมัติ หลังจากตรวจสอบว่าจัดเก็บในตำแหน่งนั้นจริง
    Barcode Scanner : โดยการยิง Barcode Scanner ในตำแหน่งที่จัดเก็บจริง
    ซึ่งตรงนี้จะช่วยในการ Confirm ตำแหน่งจัดเก็บอย่างถูกต้องซึ่งจะช่วยลดปัญหาการหาของไม่เจอได้
  3. กระบวนการเบิก (Picking) :
    ระบบ WMS จะมีระบบ Search เพื่อช่วยในการค้นหาได้อย่างง่ายดายแค่กรอกเงื่อนไข ระบบก็สามารถค้นหาสินค้าให้เอง ไม่ว่าจะเป็นการเบิกแบบ FIFO, LIFO ,FEFO หรือสามารถ กำหนดเองได้

ระบบจัดการคลังสินค้าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
องค์ประกอบหรือระบบต่างๆ ในระบบจัดการคลังสินค้าประกอบไปด้วย 7 ระบบสำคัญด้วยกัน ได้แก่

ระบบสินค้าเข้า (Stock Entry)
ระบบจัดการและเอกสารต่างๆ (Documenting)
ระบบบริหารสินค้า (Inventory Management)
ระบบจัดการการขนส่ง (Transportation Management System)
ระบบโอนย้ายสินค้า (Inventory Transfers)
ระบบตั้งหน่วยนับสินค้า (Unit of measurement)
รายงานสรุปภาพรวมสินค้า (Report)

  1. ระบบสินค้าเข้า (Stock Entry)
    ระบบสินค้าเข้า หรือ Stock Entry เป็นระบบจัดการการนำสินค้าเข้ามาในคลัง ช่วยบันทึกธุรกรรมหรือการเคลื่อนไหวของสินค้า
    คอยบอกจำนวน/ปริมาณของสิ่งของ ที่อยู่ (คลังสินค้า) มูลค่า รหัสสิ่งของ (Serial Number)

ประโยชน์ของระบบคลังสินค้าเข้านั้น จะช่วยให้เรารู้ว่า ของออกจากคลังต้นทาง (Source Warehouse) เท่าไหร่
ช่วยให้รู้ว่าจะต้องมีของเข้ามากักเก็บไว้ในคลังปลายทาง (Target Warehouse) เท่าไหร่
หรือมีอะไรเคลื่อนย้ายจากคลังหนึ่งไปอีกคลังหนึ่งอย่างไร เห็นการเคลื่อนไหวของการใช้วัสดุหรือวัตถุดิบจากคลังต่างๆ เป็นต้น

  1. ระบบจัดการและเอกสารต่างๆ (Documenting)
    ระบบจัดการเอกสารต่างๆ เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่จะคอยสรุปข้อมูลการทำธุรกรรมต่างๆ (Transaction)
    ภายในคลังสินค้า ซึ่งในระบบนี้ จะประกอบไปด้วย

2.1 ใบส่งของ (Delivery Note)
ใบส่งของ หรือ Delivery Note คือ เอกสารที่จะออกเมื่อส่งสินค้า/บริการ ให้กับลูกค้าเพื่อเป็นหลักฐานระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
ว่าผู้รับได้รับของหรือสินค้าและสิ่งที่ได้รับถูกต้องตามที่ตกลง ทั้งรายการส่งของ จำนวน ราคา เป็นต้น

โดยใบส่งของจะประกอบไปด้วยรายละเอียดสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่

รายละเอียดสินค้า/บริการ เช่น ข้อมูลผู้รับ, ข้อมูลผู้จัดส่ง, รายการสินค้าและบริหาร, จำนวนสินค้า, ราคาสินค้า, วันที่และรายละเอียดการจัดส่ง
รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้
หลักฐานการรับสินค้า ซึ่งจะประกอบไปด้วย ลายเซ็นของผู้รับสินค้า วันที่ในการรับสินค้า
โดยข้อมูลส่วนนี้จะใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันการได้รับสินค้าที่ถูกต้อง

2.2 ใบเสร็จการสั่งซื้อ (Purchase Receipt)
ใบเสร็จการสั่งซื้อ คือ เอกสารที่ออกให้กับผู้ซื้อหรือลูกค้า ซึ่งเป็นเอกสารที่ยืนยันว่าได้มีการชำระค่าใช้จ่ายเรียบร้อยแล้ว

2.3 ใบเบิกพัสดุหรือวัตถุดิบ (Material Request)
ใบเพิกพัสดุ มีความหมายตามชื่อ คือ เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับการขอเบิกพัสดุ วัสดุ หรือสิ่งของออกจากคลัง โดยรายละเอียดหลักๆ จะต้องระบุผู้ที่ทำการขอเบิกพัสดุ วันที่ทำการขอเบิก รายละเอียดสิ่งของ คลังที่จัดเก็บ รวมไปถึงชื่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ขอเบิก ผู้ตรวจสอบ ผู้อนุมัติ เป็นต้น

2.4 รายการสิ่งของตามใบสั่ง/ใบเบิก (Pick List)
รายการสิ่งของตามใบสั่ง/ใบเบิก (Pick List) คือ เอกสารที่รวบรวมรายการสิ่งที่ถูกขอสั่งซื้อหรือขอเบิกจากคลังมา หรืออาจเรียกง่ายๆ
ว่า “ออร์เดอร์ (Order)”
ซึ่งจะระบุรายละเอียดการหยิบสิ่งของว่า หยิบมาอย่างไร (เป็นชิ้น เป็นลัง เป็นพาเลท) ปริมาณเท่าไหร่ จากคลังหรือโซนไหน เป็นต้น

  1. ระบบบริหารสินค้า (Inventory Management)
    ตัวอย่างรูปภาพบริหารสินค้า (Inventory Management)
    ระบบบริหารสินค้าหรือระบบบริหารสินค้าคงคลัง คือ ระบบสำหรับจัดการ ดูแล และวางแผนในการจัดการกับสินค้า
    และธุรกิจจะเห็นการเคลื่อนไหวของสินค้าต่างๆ ว่ามีอะไรที่ถูกจำหน่ายออก หรือนำเข้ามา ให้รู้ว่าคลังมีสินค้าอะไร เท่าไหร่
    และจัดเก็บอย่างไร อยู่บริเวณไหน

ระบบบริหารสินค้าที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจรู้ว่าสินค้าตัวใดเป็นที่ต้องการ สินค้าไหนกำลังขาดมือและต้องจัดซื้อ/ผลิตเพิ่ม
ช่วยให้รู้ว่าลูกค้าหรือตลาดกำลังต้องการสิ่งใด

ทั้งนี้ ระบบบริหารที่ครบฟังก์ชันจะสามารถดูแลจัดการการเคลื่อนไหวของสินค้าได้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่

ระบบบริหารสินค้าแบบเดี่ยว (Single Product) เป็นระบบบริหารสินค้าแบบชิ้นต่อชิ้น หมายความว่า เมื่อมี 1 ออร์เดอร์เข้ามา
จะมีสินค้าออกจากคลังหรือสต็อก 1 รายการ
ระบบบริหารสินค้าแบบกลุ่ม (Bundle Product) หมายถึง ระบบบริหารสินค้าที่เข้าใจและจัดการออร์เดอร์ที่มีความซับซ้อนได้
เช่น เมื่อมี 1 ออร์เดอร์เข้ามา อาจจะมีสินค้าที่ออกจากคลังไปมากกว่า 1 รายการ ซึ่งอาจไม่ได้เป็นสินค้าประเภทเดียวกัน

  1. ระบบจัดการการขนส่ง (Transportation Management System)
    ระบบบริหารจัดการการขนส่ง หรือ Transportation Management System (TMS)
    คือ ระบบที่ช่วยบริหารงานขนส่งต่างๆ งานโลจิสติกส์ (Logistics) โดยหน้าที่ของระบบจัดการการขนส่ง
    คือ ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผน และบริหารงานขนส่งเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงรักษาคุณภาพของสิ่งของ ตลอดจนลดต้นทุนการขนส่งลง

ระบบจัดการการขนส่งจะครอบคลุมกระบวนการขนส่งตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ได้แก่
การรับคำสั่งการขนส่งและการตรวจสอบสถานะการขนส่ง
การยืนยันการรับงาน
การจัดการเส้นทางและเที่ยวรถ
การติดตามสถานะการขนส่ง เช่น ยานพาหนะ อุปกรณ์ พนักงาน
ระบบยืนยันการรับของ
การเก็บชำระเงินและบันทึกรายรับรายจ่าย
การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการขนส่ง ฯลฯ
ประโยชน์ของระบบจัดการการขนส่งที่ดี

ช่วยจัดสรรตารางการวิ่งรถหรือการขนส่งให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ เพิ่มความพึ่งพอใจให้กับลูกค้า จากระบบการติดตามสถานะการขนส่ง
บันทึกทุกกิจกรรมและข้อมูลต่างๆ สำหรับตรวจสอบหรือวิเคราะห์วางแผน เช่น เส้นทางเดินรถ ค่าใช้จ่าย การยืนยันรับสินค้า ระยะเวลาที่ใช้ขนส่ง เป็นต้น
ช่วยลดเอกสารและงานซ้ำซ้อนในการบันทึกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานขนส่ง
ใช้สำหรับสรุปค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เพื่อวิเคราะห์และวางแผนต่อไป

  1. ระบบโอนย้ายสินค้า (Inventory Transfers)
    ระบบโอนย้ายสินค้า หรือ Inventory Transfers คือ ระบบที่เข้ามาจัดการเรื่องการย้ายสินค้าไม่ว่าจะจากคลังหนึ่งไปอีกคลังสินค้าหนึ่งหรือระหว่างโรงงาน เพราะในธุรกิจหนึ่งอาจมีคลังสินค้ามากกว่าหนึ่งคลัง โดยกระบวนการย้ายสินค้าส่วนใหญ่แล้วจะมีกระบวนการทั้งสิ้น 4 กระบวนการด้วยกัน

5.1 สร้างรายการโอนย้ายสินค้า (Inventory List)
เป็นการจัดทำรายการและจำนวนสินค้าที่จะย้าย โดยสินค้าที่จะโอนย้ายต้องอยู่ในคลังสินค้าคงคลังต้นทางก่อนอยู่แล้ว ถึงจะสามารถโอนย้ายได้

5.2 ดำเนินการโอนย้ายสินค้า
เป็นการดำเนินงานย้ายสินค้าออกจากคลัง ซึ่งในขั้นตอนนี้รายการสินค้าที่โอนย้ายจะถูกลบออกจากคลังสินค้าเดิม โดยจะมีการบันทึกใบแจ้งสินค้าออก (Goods-out note)

5.3 จัดส่งใบแจ้งสินค้าออก (Goods-out note)
เป็นการออกใบแจ้งสินค้าออกเมื่อสินค้าเริ่มดำเนินการโอนย้ายแล้ว เมื่อใบแจ้งสินค้าออกส่งให้ดำเนินการแล้ว สินค้าที่โอนย้ายมาจะอยู่ในสถานะ “อยู่ระหว่างการขนส่ง” และจะไม่มีสินค้าอยู่ในคลังสินค้าเดิม

5.4 รับสินค้าที่คลังสินค้าปลายทาง
เมื่อสินค้าถูกโอนย้ายมาที่คลังสินค้าปลายทางแล้ว ข้อมูลสินค้าเหล่านี้จะถูกนำเข้าเป็นสินค้าคงคลังของคลังสินค้าใหม่

  1. ระบบตั้งหน่วยนับสินค้า (Unit of Measurement)
    หน่วยนับสินค้า (Unit of measurement) คือ การนับหน่วยของสินค้าหนึ่งๆ เช่น แก้วนับเป็น “ใบ” โต๊ะนับเป็น “ตัว”
    หรือสินค้าบางรายการนับเป็น “ชิ้น” เป็นต้น ซึ่งในระบบงานจัดการคลังสินค้านั้น ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า เราจะเรียกลักษณะนามของสิ่งของว่าอะไร
    แต่อยู่ที่ว่า “หน่วยนับสินค้า” นับอย่างไร เมื่อมีสินค้าเข้า-ออกจากคลัง

หน่วยการนับสินค้าจะแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะการนับ ได้แก่

การนับสินค้าที่มีหน่วยนับชิ้นเดียว (Single Unit) หมายความว่า ของ 1 อย่าง มี 1 อย่าง เช่น ขวดน้ำ 1 ขวด
การนับสินค้าที่มีหน่วยนับหลายชิ้น (Multiple Unit) หมายความว่า ของ 1 อย่าง อาจมีได้หลายชิ้น เช่น ขวดน้ำ 1 โหล เท่ากับ ขวดน้ำ 12 ขวด
ความซับซ้อนของการนับหน่วยสินค้าจะอยู่ที่แบบที่สอง คือ หนึ่งหน่วยมีหลายชิ้น ระบบตั้งหน่วยนับสินค้าจะเข้ามาช่วยกำหนดจำนวนที่แท้จริงของหน่วยนับต่างๆ

ยกตัวอย่างเช่น

สินค้า A จำนวนหนึ่งโหล เท่ากับ สินค้า A 12 หน่วย

สินค้า B จำนวนหนึ่งกล่อง เท่ากับ สินค้า B 10 หน่วย

สินค้า C จำนวนหนึ่งแพ็ค เท่ากับ สินค้า C 6 หน่วย

นอกจากนี้ ความซับซ้อนอีกหนึ่งอย่างของการตั้งหน่วยนับสินค้า ก็คือ การตั้งอัตราส่วน เช่น สินค้า 1 แพ็ค มี 6 หน่วย และสินค้า 1 โหล มี 12 หน่วย
ดังนั้น สินค้า 2 แพ็ค จะต้องเท่ากับสินค้า 1 โหล หรือ 12 หน่วย เป็นต้น

โดยหากระบบจัดการคลังสินค้า (WMS) ขาดการจัดการหน่วยนับที่ดีจะทำให้สินค้าคงคลังมีปัญหา
ไม่สามารถหยิบสินค้าส่งออก หรือนำเข้าสินค้าเข้าคลังได้เป็นจำนวนที่ถูกต้อง

  1. ระบบช่วยสรุปภาพรวมในระบบจัดการคลังสินค้า (Report)
    นอกจากระบบต่างๆ ที่ช่วยดำเนินกิจกรรมภายในระบบจัดการคลังสินค้าแล้ว อีกส่วนสำคัญก็คือ ระบบรายงานผล
    ที่ช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพรวมและสามารถบริหารระบบจัดการคลังสินค้าได้

โดยระบบรายงานผลจะช่วยสรุปภาพรวมออกเป็นรายงาน ดังนี้

7.1 Stock Ledger
รายการบันทึกธุรกรรมทั้งหมด ซึ่งดึงข้อมูลมาจากระบบอื่นๆ ในระบบจัดการคลังสินค้า (WMS) โดยจะแสดงรายละเอียด
เช่น วันที่ที่เกิดธุรกรรม จำนวนสินค้าที่เข้าหรือออก จำนวนสินค้าคงเหลือ ฯลฯ เพื่อใช้อ้างอิงและเป็นฐานข้อมูลของระบบจัดการคลังสินค้า โดยเราสามารถเลือกกรองข้อมูล เช่น ระยะเวลา หรือเลือกดูคลังสินค้าที่เจาะจง ที่ต้องการดูได้

7.2 Stock Balance
รายงานที่แสดงข้อมูลว่ามีสินค้าคงเหลือ ซึ่งประกอบด้วย 2 รายละเอียดหลัก ได้แก่
Balance Quantity จำนวนคงเหลือในคลัง
Balance Value มูลค่าของสินค้าคงเหลือ

7.3 Stock Summary
รายงานสรุปสถานะของสินค้าว่ามีสินค้า/สิ่งของอะไรเข้า-ออกคลัง จำนวนคงเหลือ ยอดการเบิกใช้งาน ฯลฯ
ซึ่งข้อมูลจะถูกอัปเดตเสมอเมื่อเกิดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งขึ้นกับสินค้า

ด้วย “รายงานสรุปสต็อก” จะช่วยให้ธุรกิจหรือคนที่ดูแลคลังสินค้ารู้ว่า สินค้าใดขายดีหรือมีการเคลื่อนไหวอย่างไรในแต่ละวันหรือแต่ละช่วงเวลา
เข้าใจงานขายและความต้องการของลูกค้า (Demand) รู้ว่าสินค้าอะไรกำลังสร้างกำไรให้ธุรกิจ

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจวางแผนและตัดสินใจต่อไป

สรุป 7 องค์ประกอบของระบบจัดการคลังสินค้า
องค์ประกอบของระบบจัดการคลังสินค้า หรือ Warehouse Management System มีดังนี้

ระบบสินค้าเข้า (Stock Entry) ช่วยติดตามสินค้าเข้าคลัง
ระบบจัดการและเอกสารต่างๆ (Documenting) ช่วยทำเอกสารและใบเบิกต่างๆ
ระบบบริหารสินค้า (Inventory Management) ช่วยจัดการสินค้าในคลัง
ระบบจัดการการขนส่ง (Transportation Management System) ช่วยควบคุมการขนส่งสินค้า
ระบบโอนย้ายสินค้า (Inventory Transfers) ดูแลการโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง
ระบบตั้งหน่วยนับสินค้า (Unit of measurement) ช่วยตั้งระบบในการกำหนดจำนวนและอัตราส่วนของหน่วยนับสินค้า
รายงานสรุปภาพรวมสินค้า (Report)
ระบบงานทั้ง 7 ส่วนนี้เป็นฟันเฟืองจัดการงานที่ระบบจัดการคลังสินค้าควรมี เพื่อที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการคลังสินค้าได้ครบถ้วน รอบด้าน ช่วยทุนแรงการทำงานที่ซ้ำซ้อนจำเจ และช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลในการดำเนินธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไป

โดยระบบ WMS จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
– กลุ่มลูกค้าขนาดเล็ก และขนาดกลาง จะใช้โปรแกรม WMS ในลักษณะ Stand Alone คือไม่มีการเชื่อมต่อ ERP
– กลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ จะใช้โปรแกรม WMS ที่มีการเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบ ERP (Interface ERP)

ซึ่งจากประสบการณ์ในการ Implement ระบบ Warehouse Management System (WMS) มากกว่า 10 ปี
เราจึงมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับทีม ERP และวิธีการเชื่อมต่อข้อมูล
เช่น SAP, SAP B1, Oracle, Microsoft dynamics AX, Business plus เป็นต้น

และในการ Implement ระบบ WMS ให้แก่ลูกค้าแต่ละรายนั้น โดยส่วนมากแล้วลูกค้าแต่ละธุรกิจนั้น
จะมีความต้องการที่แตกต่างกันบ้างในบางส่วนงานจึงต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมจาก Standard
ซึ่งถ้าท่านได้ใช้ซอฟท์แวร์ของคนไทยแล้ว แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการ implement ย่อมมีราคาถูกกว่าซอฟท์แวร์ต่างประเทศอยู่มาก
ช่วยให้ท่านประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากงาน Implement ของลูกค้าแต่ละราย
เรามีทีมงานที่มีประสบการณ์ เราได้ Implement สำเร็จและเสร็จสมบูรณ์ใช้งานได้จริงกับลูกค้าทุกราย
โดยท่านสามารถขอเราติดต่อ เพื่อศึกษาดูงานอ้างอิงได้ เราจึงมั่นใจที่จะช่วยให้การใช้งาน
ระบบบาร์โค้ด , RFID หรือระบบบริหารจัดการคลังสินค้า คลังสินค้า WMS ของท่านลูกค้าสำเร็จได้ด้วยดี
เพื่อธุรกิจที่กำลังขยายของและเป้าหมายทางธุรกิจของท่านลูกค้า

ซึ่งดังที่ได้เกล่าไป ระบบ WMS นั้นมีรายละเอียดมากมาย
แต่ล้วนสามารถสร้างประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจที่มีคลังสินค้าได้อย่างมหาศาล
ซึ่งทาง MOLOG จึงได้ช่วยแบ่งแยกบริการ เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจอย่างง่ายดาย
โดยแบ่งเป็นแพ็คเกจย่อยๆถึง 3 รูปแบบ
BASIC สําหรับธุรกิจระดับเริ่มต้น
STANDARD สําหรับธุรกิจกําลังเติบโต
ENTERPRISE สําหรับธุรกิจที่ต้องการไประดับโลก

โดยมี fution มากมายให้คุณนั้นสามารถเลือกใช้
และปรับให้เข้ากับธุรกิจของคุณได้

สนใจสามารถติดต่อพนักงานเพื่อนำเสนอระบบได้
เพียงกรอกแบบฟอร์มเพื่อขอดูตัวอย่างระบบฟรี!
ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

หรือพูดคุยปรึกษากับเรา โทร. 02 114 3641

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า