5 แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย สู่เป้าหมายการลดต้นทุนสินค้าคงคลัง

MOLOG_March_function+April-03

“ระบบโลจิสติกส์เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทย 

เป็นประตูการค้าที่สำคัญในอนุภูมิภาคและภูมิภาค” 

นี่คือเป้าหมายสำคัญของแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย พ.ศ.2566-2570 โดยจะพัฒนาด้วยการเชื่อมโยงการประกอบธุรกรรมทางการค้ารูปแบบ e-Commerce พัฒนาระบบโลจิสติกส์สู่รูปแบบการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งด้านการผลิต การบริการ การค้าการลงทุน และกิจกรรมโลจิสติกส์ 

 

สงสัยใช่ไหมครับ จะพัฒนาอย่างไร ถึงจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้? 

 

แผนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทยในครั้งนี้ อาศัยหลักการและแนวคิด 4 ประการด้วยกัน นั่นคือ 

  • ความต่อเนื่องของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์จากแผนฯ ฉบับที่ 3 

โดยพิจารณาผลการพัฒนาที่ผ่านมา และนำไปสู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ต่อเนื่อง 

  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (Technology & Innovation) 

กำหนดให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ในส่วนต่าง ๆ เพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน 

  • การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) 

ให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่กับการรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติไปด้วย 

  • เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) 

กำหนดทิศทางที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมนวัตกรรม และการมีสภาพแวดล้อมที่ดี 

 

โดยแผนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทยฉบับนี้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในเรื่องของการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศของเรานั่นเองครับ  

 

ระบบโลจิสติกส์จะสร้างความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไรกันนะ? 

ประเด็นหลักของแผนการพัฒนาฯ ฉบับนี้ ก็คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานโดยรวมของประเทศนั้นดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ในปี 2561 – 2580 นั่นเองครับ นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพื่อให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลง และเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศอีกด้วย 

ดังนั้น เพื่อให้ระบบโลจิสติกส์เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าที่สำคัญ จึงจำเป็นต้องมีแนวทางในการพัฒนา

MOLOG สรุปออกมาเป็น 5 แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย ได้ดังนี้   

MOLOG_March_function+April-04
  1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและสิ่งอำนวยความสะดวก
  • สร้างโครงข่ายการเชื่อมโยงการขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ระหว่างท่าเรือ รถไฟ ถนน และท่าอากาศยาน นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และด่านชายแดนที่สำคัญ 
  • พัฒนาศูนย์บริการโลจิสติกส์ เช่น ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า รวมถึงปรับปรุงด่านศุลกากรหรือพัฒนาจุดผ่านแดนที่มีศักยภาพทางการค้า 
  • บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์บริการโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแนวทางการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมการขนส่งทางรางและทางลำน้ำ ส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมพัฒนาโครงการ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้บริการด้วย 
  • ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 
  1. การยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าโซ่อุปทาน
  • พัฒนาการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานภาคการเกษตร โดยให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรและสถาบันการเกษตร ลดความสูญเสียในกิจกรรมโลจิสติกส์ สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงช่องทางการตลาด เสริมสร้างศักยภาพสถาบันการเกษตร 
  • พัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม  ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบสารสนเทศ สนับสนุนการพัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ อย่างเช่น ช่องทางการตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) นอกจากนี้ ยังต้องให้การสนับสนุนเงินทุนในการใช้นวัตกรรมอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนในต่างประเทศด้วย 
  • ดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพและก๊าซธรรมชาติ พลังงานทางเลือก ให้สอดคล้องตามแนวทาง BCG 
  1. การพัฒนาพิธีการศุลกากร กระบวนการนำเข้า-ส่งออกที่เกี่ยวข้อง และการอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างประเทศ
  • พัฒนาระบบ NSW (National Single Window) ให้สามารถรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบที่เกี่ยวข้องได้ เช่น แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (NDTP) และผลักดันให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน ASW (ASEAN Single Window) กับประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบ NSW ทั้งในรูปแบบ B2B B2C และ B2B2C 
  • พัฒนากระบวนการโลจิสติกส์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเร่งปรับลดขั้นตอนกระบวนการนำเข้า – ส่งออก พัฒนาแพลตฟอร์มกลางการขอใบอนุญาตและใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เร่งรัดการกำหนดพิกัดศุลกากรเพื่อควบคุมการนำเข้า ส่งออก 
  • พัฒนาอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดน ณ ประตูการค้าที่สำคัญ 
  • เร่งพัฒนาความร่วมมือและแก้ไขอุปสรรคการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 
  • ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ  
  1. การพัฒนาศักยภาพ Logistics Service Providers: LSPs
  • เสริมสร้างศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ยกระดับการให้บริการขนส่งสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ สนับสนุนให้ดำเนินธุรกิจแบบ Sharing Economy  
  • พัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยที่สามารถให้บริการแบบครบวงจรและได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล พัฒนา Business Model ที่ทันสมัย รวมถึงสนับสนุนให้ผู้บริการโลจิสติกส์ไทยสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและภูมิภาค  
  1. การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาบุคลากร และการติดตามผลด้านโลจิสติกส์
  • กำหนดกลไกในการให้ทุนวิจัย ที่มีแนวโน้มในการนำผลงานวิจัยมาใช้จริงได้ในเชิงพาณิชย์ สร้างความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สามารถใช้ในกิจกรรมโลจิสติกส์ได้ เช่น การใช้ AI ในการบริหารจัดการคลังสินค้า การใช้เทคโนโลยีระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID 
  • ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนากิจกรรมโลจิสติกส์ 
  • พัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยการสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน และ Up-Skill, Re-Skill บุคลากร 
  • ติดตามและประเมินผลการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ 

สรุปได้ว่า สถานการณ์โลจิสติกส์ในภาพรวม ยังคงเติบโตและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  

นอกจากนี้ แผนการพัฒนาฯ ดังกล่าว ยังสามารถลดสัดส่วนต้นทุนการขนส่งต่อ GDP และสัดส่วนต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อ GDP ลดลงเหลือร้อยละ 5 ต่อปีเลยทีเดียว 

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้า สามารถพัฒนาประสิทธิภาพของคลังสินค้าด้วยการนำเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ หรือ WMS (Warehouse Management System) มาใช้ในการบริหารจัดการคลังสินค้าได้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากลนะครับ 😊 

อยากใช้ WMS นึกถึง MOLOG WMS 

กรอกแบบฟอร์มเพื่อขอดูตัวอย่างระบบ ฟรี‼️ 

ที่: https://bit.ly/Register_free_demo 

เพื่อให้เราได้นำเสนอระบบ และแพ็คเกจที่เหมาะกับคุณ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: 

https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=logistics 

แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย พ.ศ.2566-2570 

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า