เราทุกคนต่างรู้จักคลังสินค้า เป็นสถานที่จัดเก็บสินค้าจำนวนมาก หรือที่เราเรียกว่า “สินค้าคงคลัง” ก่อนที่จะนำส่งสินค้าไปให้ถึงมือของลูกค้า ครอบคลุมไปจนถึงการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริหารจัดการ รวมถึงการเคลื่อนไหวของสินค้าด้วย
แน่นอนล่ะครับว่าสินค้าคงคลัง ต้องมีการบริหารจัดการที่ซับซ้อน เพราะสินค้าแต่ละประเภท ก็มีคุณสมบัติและวิธีการเก็บรักษาแตกต่างกัน ก่อนอื่นเลย เรามาดูกันก่อนว่า สินค้าคงคลัง มีกี่ประเภท?
สินค้าคงคลัง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- วัตถุดิบและวัสดุใช้สอย (Raw material and supplies): เป็นสินค้าคงคลังที่รอนำเข้าผลิต ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ เช่น อะไหล่คอมพิวเตอร์ ผลผลิตจากพืช
- งานระหว่างทำ (Work in process): เป็นสินค้าคงคลังที่อยู่ในระหว่างการผลิต หรือกำลังจะทำการเปลี่ยนแปลงสภาพ เช่น เสื้อที่มีการถักทอแล้ว แต่รอติดกระดุม หรืออาหารสำเร็จรูปที่มีการแปรรูปแล้ว แต่ยังไม่ได้บรรจุหีบห่อ
- สินค้าสำเร็จรูป (Finish good and product): เป็นสินค้าคงคลังที่ผลิตสำเร็จแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแล้ว และรอการจำหน่าย เช่น อาหารสำเร็จรูป เครื่องใช้ในครัวเรือน
ซึ่งสินค้าคงคลังแต่ละประเภท มีการเคลื่อนไหวหรือสภาพคล่องแตกต่างกันไป โดยสินค้าคงคลังประเภทวัตถุดิบและวัสดุใช้สอย และสินค้าคงคลังประเภทสำเร็จรูปนั้น มีสภาพคล่องตัวมากที่สุด เพราะมีการปล่อยสินค้าได้ง่ายนั่นเอง แต่ในขณะเดียวกัน สินค้าคงคลังประเภทงานระหว่างทำ กลับมีสภาพคล่องตัวน้อย เนื่องจากเป็นสินค้าที่ยังผลิตไม่สำเร็จ นำไปใช้ต่อได้ยาก องค์กรจึงพยายามทำให้มีสินค้าคงคลังประเภทนี้ ให้น้อยที่สุดครับ
ความซับซ้อนของคลังสินค้าไม่ได้มีเพียงแค่นั้นนะ!?
แต่ยังมีกระบวนการทำงานที่ละเอียดลงลึกไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการรับสินค้า การจัดเก็บ การบริหารจัดการสินค้าภายในคลัง ไม่ให้เกิดความเสียหาย และปล่อยสินค้าออกจากคลังได้อย่างเป็นระบบ
คลังสินค้าทำให้เรามี “รายได้” มากขึ้น
ใช่แล้วครับ มีรายได้มากขึ้น อ่านไม่ผิดแน่นอน เพราะการจัดการคลังสินค้าอย่างเป็นระบบ จะทำให้เราสามารถคำนวณจำนวนสินค้าได้อย่างเหมาะสม ไม่มีสินค้าค้างสต๊อก เกิดข้อผิดพลาดในการหยิบสินค้าน้อยลง จัดส่งสินค้าได้อย่างถูกต้อง ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงเท่านี้ คุณก็จะไม่เสียรายได้ไปกับความผิดพลาดที่ไม่จำเป็น และยังส่งผลให้มีรายได้มากขึ้นอีกด้วย
รายได้ ที่มาจาก “ต้นทุนที่ลดลง”
ต้นทุนทางโลจิสติกส์นั้น มาจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ ต้นทุนการขนส่งสินค้า ต้นทุนการบริหารจัดการ และต้นทุนการรักษาสินค้าคงคลัง ที่ครอบคลุมทั้งต้นทุนการถือครองสินค้าและต้นทุนการบริหารคลังสินค้า
MOLOG รวบรวมแนวทางในการบริหารคลังสินค้า เพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้ ดังนี้
- ควบคุมต้นทุนการสั่งซื้อ
เราควรใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างคำสั่งซื้อ (Purchase Order: PO) การใช้ระบบ Electronic Data Interchange: EDI ในการส่งผ่านข้อมูลคำสั่งซื้อ (PO) การใช้ระบบแจ้งการส่งสินค้าล่วงหน้า ก่อนสินค้าจะมาถึงคลัง (Advance Shipping Notices: ASNs) รวมไปถึงการใช้ระบบประเมินซัพพลายเออร์ และการบำรุงรักษาเครื่องมือในคลังสินค้า
- กำหนดปริมาณสินค้าคงเหลือที่เหมาะสม
การกำหนดปริมาณสินค้าคงเหลือ หรือี่เรียกว่า Safety Stock เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอในการขนส่งให้กับลูกค้า สามารถเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้ ส่งผลให้มีรายได้จากลูกค้าที่พึงพอใจมากขึ้น และยังลดการเกิดสินค้าขาดแคลน เสียโอกาสในการขนส่งสินค้าตามคำสั่งซื้ออีกด้วย
- เคลื่อนย้ายสินค้าคงคลัง
เคลื่อนย้ายสินค้าจากคลังหนึ่ง ไปอีกคลังหนึ่ง (Transfer) เมื่อสินค้าบางรายการมีมากเกินไป เพื่อเกลี่ยปริมาณสินค้า ส่งผลดีต่อการบริหารสินค้าคงคลังได้เป็นอย่างดี
- การใช้พื้นที่คลังสินค้าให้คุ้มค่า
เราควรออกแบบพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าให้เหมาะสม อาจเริ่มจากการเรียงสินค้าให้พอดีกับพื้นที่ ไม่เปลืองพื้นที่ รวมไปถึงมีการนำสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock) ออกไปจากคลังสินค้าก่อนครับ
- การติดตามสินค้าคงคลัง
สามารถใช้เทคโนโลยีในการระบุตำแหน่ง และติดตามสินค้าภายในคลัง ด้วยการใช้ WMS ควบคู่กับการสแกนบาร์โค้ดที่สินค้า และพาเลท และมีการแนะนำตำแหน่ง (Location) ในการจัดเก็บบน Rack จะช่วยลดเวลาในการจัดเก็บสินค้า และการหยิบสินค้าได้อย่างดีเยี่ยม
อย่างไรก็ตาม คลังสินค้าไม่สามารถทำงานด้วยตนเองได้ หากขาดระบบการบริหารจัดการที่ถูกต้อง และวิธีที่ดีที่สุด คือการใช้ WMS (Warehouse Management) ในการบริหารจัดการคลังสินค้า เพราะมีการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลแบบเรียลไทม์ และคำนวณได้อย่างแม่นยำในทุกฟังก์ชัน (อ่านปัญหาที่ต้องพบ หากไม่มี WMS ได้ที่: https://bit.ly/MOLOG-5ปัญหาการจัดการคลังสินค้า)
ใครบ้างที่ควรใช้ WMS ในการจัดการและลดต้นทุนคลังสินค้า
- ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ: ผู้ค้าปลีกออนไลน์มักมีสินค้าคงคลังจำนวนมากที่ต้องติดตามและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ WMS สามารถช่วยติดตามสินค้าคงคลัง คำสั่งซื้อ และกระบวนการจัดส่งได้
- ผู้ผลิต: บริษัทที่ผลิตสินค้าอาจใช้ WMS เพื่อจัดการสินค้าคงคลัง วัตถุดิบ และสินค้าสำเร็จรูป สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและลดของเสียได้
- ผู้จัดจำหน่าย: ธุรกิจที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ค้าปลีกหรือลูกค้าทั่วไป อาจใช้ WMS เพื่อจัดการสินค้าคงคลังและกระบวนการจัดส่ง สามารถช่วยปรับปรุงการจัดการตามคำสั่งซื้อและลดข้อผิดพลาดได้
- ผู้ให้บริการ 3PL/Fulfillment: ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ 3PL และ Fulfillment มักจะจัดการสินค้าคงคลังและกระบวนการจัดส่งสำหรับลูกค้าหลายราย WMS จะสามารถช่วยติดตามสินค้าคงคลังและคำสั่งซื้อของลูกค้า ตลอดจนการดำเนินงานคลังสินค้าของตนเองอีกด้วย
- ผู้ค้าปลีก: ผู้ค้าปลีกที่มีหน้าร้านจริง รวมถึงช่องทางการขายออนไลน์อาจใช้ WMS เพื่อจัดการสินค้าคงคลัง ในสถานที่ตั้งหลายแห่ง ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระดับสินค้าคงคลังและปรับปรุงการบริการลูกค้าได้ดีขึ้น
ทั้งนี้ การเลือกใช้แนวทางในการลดต้นทุนคลังสินค้านั้น สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมกับธุรกิจ และวิธีการทำงานในปัจจุบัน เพื่อสามารถพัฒนาการบริหารจัดการคลังสินค้าได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วครับ
หากสนใจใช้ WMS ในการลดต้นทุนให้คุณ
MOLOG WMS ช่วยได้
เพียงกรอกแบบฟอร์มเพื่อขอดูตัวอย่างระบบ ฟรี!!
ที่: https://bit.ly/Register_free_demo
เพื่อให้เราได้นำเสนอระบบ และแพ็คเกจที่เหมาะกับคุณ
ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://www.logisticafe.com/2018/05/warehouse-and-inventory-management/
https://domitos.com/th/blog/warehouse-logistics/
https://www.iok2u.com/article/logistics-supply-chain/ct51-15
https://hmgroupthailand.com/th/blog/detail/10tipsforstockmanagement
http://www.similantechnology.com/news&article/warehouse-cost.html
3pl edi fmcg Fufillment molog wms การจัดการคลังสินค้า จัดการคลังสินค้า