![](https://www.mologtech.com/wp-content/uploads/2022/02/ธุรกิจคุณเป็นหนึ่งใน-fmcg-รึเปล่า-โอกาสครั้งสำคัญมาถึงคุณแล้ว-1-1024x1024.png)
ในปัจจุบันนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่าการซื้อขายสินค้าบนโลกออนไลน์นั้น
กลายเป็นทิศทางหลักของการทำธุรกิจ
สืบเนื่องมาจากช่องทางการติดต่อซื้อขายกับลูกค้านั้นมีเพิ่มขึ้นมามากมาย
อีกทั้งความเร็วของ internet และ device ที่มีคุณภาพสูงขึ้น
สวนทางกับราคา และตัวเร่งที่สำคัญที่สุดที่เปลี่ยนโลกออนไลน์
จากทางเลือกกลายเป็นทางรอดให้กับหลากหลายธุรกิจ
นั่นก็คือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสcovid
ซึ่งหนึ่งในธุรกิจที่โดนเด่นขึ้นมาในยุคซื้อขายของออนไลน์นั้นก็คือธุรกิจ fmcg
หรือ Fast-moving consumer goods คือ สินค้าที่จำหน่ายเร็วและมีต้นทุนต่่า รวมถึง
สินค้าที่ไม่คงทน ได้แก่ น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำ ยา ของเล่น อาหารส่าเร็จรูป สินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ
สินค้าดังกล่าว มักจะมีระยะเวลาบนชั้นวางสินค้าค่อนข้างสั้น
เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่ค่อนข้างสูง หรือสินค้าเสื่อมสภาพค่อนข้างรวดเร็ว
นอกจากนี้ สินค้าบางอย่าง (อย่างเช่น ขนมปัง ผักสด เนื้อสัตว์)
ก็ยังเป็นสินค้าที่เน่าเสียได้ง่ายด้วย
ลักษณะของสินค้าประเภท fmcg จึงมีการซื้อบ่อย มีราคาค่อนข้างต่่า เป็นสินค้าที่ใช้อุปโภคบริโภคในชีวิตประจ่าวัน
มีปริมาณมาก มีกำไรต่อหน่วยค่อนข้างน้อย และมีเครือข่ายกระจายสินค้าที่ค่อนข้างกว้างขวาง
หรือก็คือ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในทุกรูปแบบ ที่มีการจำหน่าย เกิดการซื้อ/ขายขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
และ มีราคาที่ไม่สูงมาก โดย ส่วนมากจะเป็นสินค้าที่มีลักษณะ ไม่ใช่สินค้าคงทน
ตัวอย่าง เช่น อาหาร เครื่องดื่ม กระดาษชำระ ยาสามัญประจำบ้าน
สินค้าในรูปแบบ เอฟเอ็มซีจี fmcg จะมีลักษณะ shelf life ค่อนข้างต่ำ
หรือความหมายคือ สินค้าจะถูกเลือกซื้อไปจากชั้นวางในซุปเปอร์มาร์เก็ตได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสินค้าเหล่านี้ มีความต้องการในตลาดที่ค่อนข้างสูงดังที่ได้เกล่าไปข้างต้น
สินค้า ที่เราสามารถพบเห็นได้ใน ห้างสรรพสินค้า หรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่เป็น fmcg อย่างได้ชัดเจน คือ จำพวกอาหารสด เนื้อ สัตว์ ผลไม้ ผัก หรือ
ผลิตภัณฑ์สดใหม่รายวัน เครื่องดื่มต่างๆ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำดื่ม
ยอดขายของสินค้าแบบ fmcg โดยมากจะสามารถมีปริมาณมหาศาลได้ในช่วงเทศกาลวันหยุดหรือฤดูกาลต่างๆที่เป็นเหตุการณ์พิเศษ
รวมทั้งกิจกรรมการลดราคาลดแลกแจกแถมหรือซื้อดูการลดกระหน่ำเพื่อเอาใจลูกค้า
ในทางการตลาดสินค้า fmcg หรือ Fast-Moving Consumer Goods
สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ Consumer Packaged Goods หรือ CPG ใช้ในความหมายเดียวกัน
โดย ซีพีจี cpg คือสินค้าที่พร้อมอุปโภคบริโภคทันทีในความหมายที่คล้ายกัน
โดยว่ากันว่า โครงสร้างการกระจายสินค้า หรือ Distribution ของสินค้ากลุ่ม fmcg หรือ Fast Moving Consumer Goods
ที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะจาก One to One ไปสู่ One to Many คือการขยายจากรูปแบบดั้งเดิมมาสู่รูปแบบสมัยใหม่ที่มีความหลากหลายของช่องทางขายมากขึ้น
ในอดีตนั้น การจัดจำหน่ายสินค้าในกลุ่มนี้ จะมีเพียงแค่การขายผ่านช่องทางขายผ่านร้านค้าปลีกในรูปแบบเดิมที่มีคนกลางหรือยี่ปั๊ว
เข้ามาเป็น 1 ในตัวช่วยกระจายสินค้านอกเหนือจากหน่วยรถของซัพพลายเออร์เจ้าของสินค้า
และหน่วยรถกระจายสินค้าของบริษัทดิสทริบิวเตอร์ หรือบริษัทที่รับจัดจำหน่ายสินค้า
รวมถึงการขายผ่านช่องทางร้านค้าโมเดิร์นเทรด ที่ปัจจุบันจะมีการแยกออกเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน นั่นคือ
กลุ่มแรกที่เป็นเชนโมเดิร์นเทรดขนาดใหญ่ และกลุ่มที่เป็นโลคอล โมเดิร์นเทรด ที่ส่วนหนึ่งจะเป็นร้านค้าดั้งเดิมที่แปลงร่างตัวเองจากยี่ปั๊วในระบบเดิม
มาสู่การเป็นโมเดิร์นเทรดท้องถิ่นที่พ่วงขายปลีกหน้าร้านในราคาถูก นอกเหนือจากการขาย
โดยมีบางรายที่ขยายฐานตัวเองออกมาในรูปแบบของเชนที่มีหลายสาขา เป็นร้านค้าปลีกในขนาดไม่ใหญ่กระจายออกไปตามชุมชนในเมือง และอำเภอรอบนอก
รูปแบบของการบริหารจัดการในเรื่องของการกระจายสินค้าจึงแตกต่างออกไป
โดยเชนโมเดิร์นเทรด จะมี Key Account ของฝ่านซัพพลายเออร์เจ้าของสินค้าเป็นคนติดต่อกับฝ่ายจัดซื้อของแต่ละเชน
ขณะที่ในเรื่องของหน่วยรถกระจายสินค้าที่เข้าร้านค้าย่อยนั้น จะมีออกมา 2 รูปแบบ คือ หน่วยรถที่เป็น Cash Sales
หรือหน่วยรถที่ขายเงินสดที่จะเข้าตรงถึงร้านค้าย่อยหรือโชวห่วยโดยตรง
ในส่วนนี้ อาจจะเป็นการทำผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือศูนย์กระจายสินค้าที่คัดเลือกตัวแทนในพื้นที่เข้ามาเป็นพันธมิตร
อย่างในกรณีของยูนิลีเวอร์ที่มีศูนย์จัดหน่ายที่เรียกว่าคอนเซสชั่นแนร์ซึ่งคัดเลือกพันธมิตรจากทั่วประเทศเข้ามาเป็นตัวแทนจำหน่ายให้
อีกกรณีหนึ่ง อาจจะเป็นการบริหารหน่วยรถ Cash Sales ของบริษัทดิสทริบิวเตอร์ในส่วนกลางที่รับจัดหน่ายให้
โดยกลุ่มนี้จะมีหน่วยขายเงินสดอยู่ในมือจำวนมาก เพื่อทำหน้าที่ผลักดันสินค้าเข้าสู่ร้านโชวห่วย
ขณะที่อีกส่วนจะเป็นเรื่องของเครดิตเซลส์ ที่เป็นการขายเข้ายี่ปั๊ว หรือโลคอล โมเดิร์นเทรด ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นการให้เครดิตเทอมตามที่บริษัทกำหนด
ซึ่งอาจจะมีการเจรจาต่อรองในส่วนที่เป็นการทำ “เทรด มาร์เก็ตติ้ง” หรือ “เทรด โปรโมชั่น” ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนร้านค้าเพื่อให้สามารถสร้างส่วนต่างกำไรเพิ่มขึ้น
เนื่องจากร้านค้าที่เป็นโลคอล โมเดิร์นเทรด หรือยี่ปั๊ว ส่วนใหญ่จะใช้เรื่องของกลยุทธ์การขายสินค้าราคาต่ำเป็นหลักอยู่แล้ว
ดังนั้นธุรกิจ fmcg จึงเติบโตอย่างก้าวกระโดดในยุคโควิด
อีกสาเหตุนั้นก็คือ นอกจากช่องทางออนไลน์แล้ว ก็ยังมีร้านสะดวกซื้อที่เป็นช่องทางหลักดั้งเดิมอยู่แล้ว
หรือเปรียบเป็นฐานกระจายสินค้า
จึงเป็นคีย์กลยุทธ์ของ 2 ช่องทาง
เริ่มจากช่องทางโมเดิร์นเทรด หรือ MT ในชื่อย่อที่นักการตลาดชอบเรียก ช่องทางนี้จะมีทั้งที่เป็นเชนค้าปลีกไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต
และคอนวีเนียนสโตร์ ซึ่งยอดขายรวมๆ กันจะกินสัดส่วนประมาณ 50 – 60% ของตลาด fmcg โดยรวม
เนื่องจากการแข่งขันของผู้ประกอบการโมเดิร์นเทรดมีออกมาค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะในเรื่องของราคา
การทำตลาดของพวกนี้บางครั้งจึงมีการขายสินค้าแบบขาดทุนเพื่อเรียกลูกค้าเข้าร้าน แล้วหันไปทำกำไรจากส่วนอื่นๆ แทน
รวมถึงการสร้างเครื่องมือทางการตลาดขึ้นมาเพื่อเรียกส่วนต่างจากเจ้าของสินค้าให้สามารถทำกำไรในตัวเลขที่ถัวเฉลี่ยเอาไว้ เครื่องมือต่างๆ
ก็มีทั้งค่าแรกเข้า ค่าโปรโมชั่น ค่ากระจายสินค้า หรือค่าอื่นๆ อีกจิปาถะตามอำนาจต่อรองของแต่ละเชนที่มีอยู่
การทำตลาดในช่องทางนี้ จะมีเรื่องของระบบสเปซ แมเนจเม้นต์ เข้ามาเกี่ยวข้อง ระบบที่ว่านี้จะเป็นการบริหารพื้นที่ขายบนเชลฟ์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ก็เพราะพื้นที่ขายบนเชลฟ์มีจำกัด จึงต้องให้แบรนด์ที่ขาย 4 – 5 อันดับแรกมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาวางบนเชลฟ์
รวมถึงเหลือพื้นที่ไว้สำหรับสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของห้างอีกแบรนด์หนึ่งด้วย
แบรนด์สินค้าแต่ละแบรนด์จึงใช้ในเรื่องของการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับ และติดอันดับ 1 ใน 3 ของพื้นที่หัวใจลูกค้าเพื่อที่จะให้ลูกค้าจดจำที่นำไปสู่การหยิบออกจากเชลฟ์
ไม่เพียงเท่านั้นยังต้องมีการทำการตลาด ณ จุดขาย แบบเต็มสปีด เพื่อกระตุ้นการซื้อ ณ จุดขายอีกทอดหนึ่ง
โดยในแง่จิตวิทยาของผู้บริโภคนั้น มีการวางแผนว่าจะซื้อสินค้าประเภทอะไร แต่น้อยรายนักที่จะมีการระบุแบรนด์เข้าไปใน
แผนการซื้อ การกระตุ้นการตัดสินใจ ณ จุดขายจึงเป็นตัวช่วยชั้นดีในการรับมือกับการแข่งขันในช่องทางโมเดิร์นเทรด
การกระตุ้น ณ จุดขาย อาจจะมีทั้งในแง่ของการจัดโปรโมชั่น กองโชว์ การดิสเพลย์ที่โดดเด่น หรือการจัดเรียงสินค้าให้เต็มเชลฟ์อยู่ตลอดเวลา
เพราะการมีสินค้าอยู่บนเชลฟ์ตลอดเวลานั้น จะช่วยให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ ปัจจุบันจึงมีบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำกลยุทธ์เหล่านี้ให้
และสิ่งที่สำคัญของภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาด fmcg ของทั่วโลกรวมถึงบ้านเราด้วยก็คือ
การเข้าไปเป็นเจ้าของร้านค้าเองของเจ้าของสินค้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยากหรือต้องลงทุนอะไรสลับซับซ้อนมากนัก
เพราะเป็นการขยับเข้ามาเป็นเจ้าของร้านในช่องทางของออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซเองของผู้เล่นในตลาดนี้หลายราย
การเข้ามาเป็นเจ้าของช่องทางขายหรือร้านค้าปลีกของแบรนด์สินค้าเองนั้น
เป็นความพยายามในการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงของแบรนด์ต่างๆ ที่เรียกว่า Direct to Consumer
ซึ่งเป็นอีก 1 เทรนด์ ที่จะมีออกมาให้เห็นมากยิ่งขึ้นในช่วงเวลาถัดจากนี้ไป
หากมองเข้ามาที่ความหมายของ Direct to Consumer หรือเรียกโดยย่อว่า D2C แล้ว
ก็คือการขายสินค้าแบบปลีกผ่านช่องทางการขายเฉพาะที่เป็นของแบรนด์เอง โดยมีระบบรวบรวมสินค้า บริการจัดส่ง
และชำระเงินอย่างสมบูรณ์ไว้ในช่อง ทางเดียว ซึ่งในบ้านเราอาจจะยังเป็นการผ่านอีคอมเมิร์ซ แพลตฟอร์ม
แต่ก็มีบางแบรนด์ที่มีการทำแพลตฟอร์มของตัวเองขึ้น มาเพื่อเข้าตรงถึงตัวผู้บริโภค
แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ยังคงมีบทบาทในการทำตลาดในรูปแบบ Direct to Consumer ในบ้านเรา
เพราะเป็นช่อง ทางขายที่สามารถนำแบรนด์เข้าไปใกล้ชิดกับลูกค้าที่ทำให้สามารถเห็นข้อมูลการซื้อสินค้าได้แบบเรียลไทม์
พร้อมมีส่วนสนับสนุนทั้งในเรื่องของระบบการชำระเงิน การส่งสินค้า และการทำการตลาดเพื่อสนับสนุนการขาย
ทำให้แบรนด์ใหญ่ๆ มีการเข้าไปเปิดร้านในอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มมากขึ้น
เป็นการทำให้แบรนด์เข้าไปใกล้ชิดลูกค้าของตัวเองมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผ่านคนกลางอย่างเจ้าของร้านค้าปลีก
โดยในอดีต การทำตลาดแบบ Direct to Consumer นั้น อาจจะออกมาในรูปแบบของการรเข้าไปคอนโทรลที่ธุรกิจ “ปลายน้ำ”
ด้วยการทำร้านค้าปลีกเอง หรือบางรายใช้วิธีการเทคโอเวอร์เพื่อเป็นทางลัดในการครอบครองร้านค้าปลีกที่จะเป็นตัวเข้าถึงไลฟ์สไตล์หรือ Data ในการซื้อของลูกค้าโดยตรง
ตัวอย่างในเรื่องนี้ก็คือ การเข้าซื้อกิจการของบิ๊กซีในประเทศไทยโดยเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ หรือบีเจซี ที่ทำให้ซัพพลายเออร์รายนี้เข้ามาสวมบทบาทเป็นรีเทลเลอร์อีกบทบาทหนึ่ง
นอกเหนือจากการเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า fmcg หลายแบรนด์
เรื่องของแบรนด์ที่กลายเป็นเจ้าของร้านค้าปลีกเอง กำลังเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจ แม้จะเป็นร้านเสมือนจริงในแพลต ฟอร์มออนไลน์
แต่อย่าลืมว่า การเปิดร้านในอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มนี้ เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง และสิ่งที่ตามมาก็คือการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมการซื้อจริง
นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมแบรนด์ใหญ่หรือผู้เล่นรายใหญ่ทั้งยูนิลีเวอร์ พีแอนด์จี เนสท์เล่ และอื่นๆ อีกมากมาย ต่างเลือกที่จะเข้าไปเปิดร้านบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
ข้อดีของการเข้ามาขายในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็คือ แบรนด์สามารถเช็คยอดขายได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการนำมาวางแผนกระตุ้นการขายได้เป็นอย่างดี
โดยทั้งเจ้าของแพลตฟอร์ม และแบรนด์สินค้าต่างมีการร่วมกันทำการตลาดเพื่อช่วยกระตุ้นดีมานด์อย่างต่อเนื่อง
รวมถึงการช่วยกำหนด Price Point ที่สามารถจะขายได้ดีให้กับร้านค้าพันธมิตร เป็นอีกตัวช่วยสำคัญ
ซึ่งการเป็นแพลตฟอร์มที่มีข้อมูลการช้อปของลูกค้าจำนวนมาก จะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนั่นทำให้แบรนด์ต่างๆ ให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มนี้มากขึ้น
แม้จะยังมีสัดส่วนการขาย หรือมียอดขายกลับมาไม่มากนัก แต่ช่องทางขายที่เป็น Direct to Consumer
จะเข้ามาเป็นอีกจุดเปลี่ยนที่ช่วยให้แบรนด์สินค้า fmcg สามารถเข้าถึง Data ของลูกค้าที่จะทำให้เข้าใจผู้บริโภคอย่างลึกซึ้งมากขึ้น
สรุป สินค้า fmcg หรือ Fast Moving Consumer Goods ก็คือสินค้าประเภทที่คนทั่วไปต้องกินต้องใช้อยู่ในชีวิตประจำวันและมักจะเป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป
ส่งผลให้เป็นสินค้าที่สามารถขายได้ง่ายตามชื่อ Fast Moving Consumer Goods
ที่ถึงแม้จะมีให้เลือกหลากหลายแบรนด์แต่ก็เป็นสินค้าประเภทที่มีความแตกต่างระหว่างแบรนด์ที่ต่ำ
จะเห็นได้ว่าธุรกิจ fmcg นั้นช่างเย้ายวนให้ผู้ประกอบการนั้น
ได้เข้าไปร่วมลงทุนเพื่อส่วนแบ่งทางด้านการตลาด
จากสินค้ามากมายที่เข้าข่าย
ซึ่งการมีสินค้ามากมายนั้น
จึงหลีกหนีไม่พ้นการที่ต้องมีคลังสินค้า
และเมื่อมีคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่มีปริมารสินค้ามากมายมหาศาล
และอีกทั้งยังมีสินค้าเข้าออกมากมายอีกทั้งหลากหลายรูปแบบ
ปัญหาในการบริหารคลลังสินค้าจึงตามมา
ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ในธุรกิจ fmcg
โดยจะดีกว่ามั้ยถ้าคลังสินค้าของคุณนั้นมีระบบช่วยจัดการ
ให้ MOLOG WMS ช่วยบริหารคลังสินค้าให้กับคุณ
โดย MOLOG WMS ระบบ WMS ของคนไทย
support โดยคนไทย
ที่เป็นผู้ให้บริการทางด้านระบบ WMS ให้องค์กร fmcg ชั้นนำมาแล้วอย่างมากมาย
อาทิเช่น
-com 7
-dtgo
-HH-Werkzeug
และได้ขึ้นงานระบบ WMS ให้กับ องค์กรชั้นนำอีกมากมาย
อาทิเช่น
Kerry Logistics, , kellogg’s corn flakes
, nanyang textile, Thairath Logistics , Boonrawd
, On Time Fulfillment (Sintanachote)
MOLOG จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ fmcg
ในเรื่องระบบที่พัฒนามาจากการใช้งานในคลังสินค้าธุรกิจ fmcg ของจริง
และการ support ที่สามารถช่วยได้แม้กระทั่งพนักงานทั่วไป
ไม่อยากพลาดต้อง MOLOG WMS
เพราะไม่ใช่แค่เงินที่คุณเสียไป แต่ยังเป็นเวลาในการขึ้นระบบ
โดย MOLOG สามารถนำ solution จากธุรกิจมากมาย
มาขึ้นระบบให้คุณได้ทันที
หากท่านสนใจ
สามารถติดต่อพนักงานเพื่อนำเสนอ ระบบ และ package ได้
เพียงกรอกแบบฟอร์มเพื่อขอดูตัวอย่างระบบฟรี!
ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
https://bit.ly/MOLOGwsRD
หรือพูดคุยปรึกษากับเรา โทร. 02 114 3641